วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

AI613_Class10_ 1 Feb 2011

Week 10 Feb_1_2011
Enterprise System, Supply Chain Management and Enterprise Resource Planning

Enterprise System
ระบบสารสนเทศพื้นฐานที่สุดคือ Functional Information System คือระบบที่แต่ละหน่วยงานพัฒนาขึ้นเองหรือซื้อมา หรือเช่ามา เพราะความต้องการของแต่ละหน่วยแตกต่างกัน  การทำงานจึงจะถูกแยกตามแผนกแยกกันตัดสินใจ เช่น ฝ่ายขาย ฝ่ายการตลาด ฝ่ายบัญชี  ทำให้มีฐานข้อมูลที่แยกจากกัน มีปัญหาด้านการพัฒนาในระดับองค์กรโดยรวม การตัดสินใจทำได้ลำบาก มีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาที่ซ้ำซ้อน  
แต่การพิจารณาการลงทุนระบบขององค์กรนั้นทำได้ยากเพราะการเพิ่มระบบที่ดีเข้าไปนั้นเป็นเพียงการช่วยให้การทำงานดีขึ้น ไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลประกอบการ หรือคำนวณเป็นตัวเงินได้โดยตรง
ตัวอย่าง Dell ตั้งโรงงานและการบริการลูกค้าแยกสถานที่กัน ต้องมีระบบฐานข้อมูลที่สื่อสารระหว่างสถานที่กันได้
UPS บริการส่งสินค้าและพัสดุมีระบบ Tracking Package เป็นรายแรก
              
  การมีระบบสารสนเทศแบบ Enterprise System จะสามารถรวมทุกกิจกรรมที่สำคัญของธุรกิจ (Key Process)
  • ERP Enterprise Resource Planning ระบบจัดการบริหารงานภายในขององค์กร เช่น Oracle ซึ่งสามารถเชื่อมต่อไปยังลูกค้าและผู้ขายได้ด้วย 
  • CRM บริหารความสัมพันธ์ลูกค้า 
  • Knowledge Management Systems (KM) บริหารงานภายในเพื่อสร้าง พัฒนาความรู้ภายในองค์กร เช่น K-Business 
  • Supply Chain Management (SCM) การบริหาร Supply Chain ตั้งแต่ผู้ผลิตแรกจนถึงลูกค้า 
  • Decision Support Systems (DSS) ระบบ ที่ช่วยในการตัดสินใจภายในองค์กรแก่ผู้บริหาร เช่น ระบบส่งรถโดยคำนวณการใช้น้ำมัน การเดินทาง เพื่อให้เกิดการประหยัดน้ำมันมากที่สุด ระบบการจัดส่งน้ำมันให้แก่ปั๊มน้ำมัน 
  • Business Intelligence (BI) การบริหารความรู้ภายในองค์กร นอกจากการอบรมที่บริษัทจัดขึ้นเอง อาจรวบรวมจากอีเมล์หรือการสื่อสารระหว่างบุคคลกันเอง

Supply Chain Management System
                กระบวนการตั้งแต่ที่บริษัทได้รับวัตถุดิบมาจาก Supplier ซึ่งอาจมีมากกว่า 1 รายและมีมากกว่า 1 ขั้น คือมี Sup supplier นั่นเอง ไปจนถึงการที่บริษัทส่งสินค้าให้ลูกค้า โดยระบบสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทช่วยให้ข้อมูลมีการ Flow ได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้การจัดการภายใน Supply Chain มีความราบรื่นมากยิ่งขึ้น เช่น Walmart จะต้องมีสารสนเทศสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันตลอดจนเป็นคู่ค้าระยะยาว เช่น ตรวจเช็คปริมาณที่จะต้องนำมาเติมสินค้าอัตโนมัติ

  • Warehouse Management System (WMS) เพื่อบริหารสินค้าในคลัง เช่น จำนวน การวางสินค้า การเข้าออกของสินค้า 
  • Inventory Management System (IMS) 
  • Fleet Management system ระบบการบริหารการส่งของ สำหรับเช็คว่ามีการส่งของในแต่ละที่เท่าไหร่ + RFID ตรวจ สอบการส่งของจริงอีกครั้ง เช่น ส่งของภาคเหนือ อาจแวะส่งของที่แต่ละจังหวัดก่อน ต้องเช็คการส่งในแต่ละจังหวัดด้วยว่าลงอะไร เท่าไหร่ ส่งข้อมูลกลับไปที่สำนักงานใหญ่ 
  • Vehicle Routing and Planning คำนวณเส้นทางเดินรถขนส่ง เพื่อประหยัดน้ำมัน 
  • Vehicle Based System บริหารจัดการรถบรรทุกในการตรวจสอบสถานะ สถานที่การเดินทางที่อยู่ปัจจุบัน เช่น ระบบ GPS ตรวจจับสถานที่ ระบบการวัดแอลกออล์
10 IT Trends for Logistics Supply Chain Management
1)      Connectivity เชื่อมโยงกับเครื่องมือได้ง่ายมากขึ้น เช่น การใช้ Wireless สามารถเชื่อมต่อผ่านมือถือได้ การ 802.11a และ 802.11g มีศักยภาพได้มากขึ้นกว่า เนื่องจากมีความเร็วมากกว่าและสามารถกระจายคลื่นผ่านเครื่องกระจายได้มาก ขึ้น สามารถรักษาสถานะสัญญาณได้มากขึ้น  
2)      Advanced Wireless : Voice & GPS ผ่านการใช้เสียงและ GPS เป็นการใช้งานได้มากขึ้นของเครื่องมือการสื่อสารหรือ Tablet เช่น BB เริ่ม จากการใช้งานในองค์กรก่อน หากจะนำมาใช้เป็นอุปกรณ์ตรวจสินค้าในโกดังอาจไม่เหมาะแต่ก็สามารถสร้างแรง จูงใจในการใช้งานให้แก่พนักงานมากกว่า
3)      Speech Recognition การสั่งงานด้วยเสียง เช่น Intermec บรัทผลิตปริ้นเตอร์และพัฒนาสินค้าที่สามารถสั่งงานด้วยเสียง
4)      Digital Imaging การประมวลผลภาพดิจดตอลผ่านรูปภาพที่ถ่าย
5)      Portable Printing สามารถทำเป็นใบเสร็จและติดต่อกลับเข้าที่สำนักงานใหญ่ได้ทันที เช่น ธุรกิจประกัน (ในต่างประเทศ)
6)      2D & other barcoding advances บาร์โค้ด 2 มิติจะสามารถออกแบบให้เหมาะสมกับแต่ละองค์กรได้มากกว่า  
7)      RFID ชิ ปฝังอยู่ในบัตรหรือแถบสินค้า บัตรทางด่วน กล่องสินค้า สามารถสแกนอ่านข้อมูลได้ว่ามีสินค้าอยู่จำนวนเท่าไหร่ มาจากที่ใด เป็นเทคโนโลยีสำคัญของระบบการบริการห่วงโซ่
8)      Real Time Location System; RTLS ระบบแสดงตำแหน่งเวลาจริง ใช้ร่วมกับ RFID ทำให้องค์กรสามารถขยายเครือข่ายแลนไร้สายขององกรเข้าสู่ระบบการติดตามสินทรัพย์ ป้องกันการขโมยสินค้าได้
9)      Remote Management การจัดการทางไกล ใกล้เคียงกับ RTLS เพียง แต่ใช้สำหรับระยะไกล โดยใช้ระบบแลนไร้สายเพื่อติดตามสินทรัพย์ของคลังสินค้าและโรงงาน เป็นตัวอย่างของการปรับใช้ทรัพยากรไอทีให้เป็นประโยชน์กับสภาพแวดล้อม อุตสาหกรรม อีกตัวอย่างคือระบบการจัดการระยะไกลประสิทธิภาพสูงได้รับการพัฒนาเฉพาะเพื่อ กำหนดค่า ตรวจสอบ และแก้ไขปัญหาเครื่องอ่านและเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด อุปกรณ์อาร์เอฟไอดี คอมพิวเตอร์ที่ทนทาน และอุปกรณ์การเก็บและสื่อสารข้อมูลอุตสาหกรรมอื่นๆ
10)   Security ความปลอดภัยของอุปกรณ์และเครือข่ายไร้สาย ประเด็นสำคัญมากโดยเฉพาะสำหรับการใช้งาน Wireless เพราะข้อมูลกระจายอยู่โดยไม่ทราบว่ามีใครแอบใช้ข้อมูลหรือไม่

Supply Chain Management and Its Business Value
                ประเด็นสำคัญอยู่ที่ทุกหน่วยงานมีการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันข้อมูลร่วมกัน เช่น Wal-Mart ให้ คู่ค้าต้องแบ่งปันข้อมูลให้เพื่อความสะดวกในการรับส่งสินค้า เป็นปัญหาในการทำงานจริง เนื่องจากอาจส่งผลกระทบเรื่องการนำข้อมูลไปใช้ ซึ่งเป็นการ Collaborative Planning ผ่านการออกแบบการส่งข้อมูลและสินค้าร่วมกัน สามารถประหยัดต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่จะเป็น รวมทั้งผ่านการจัดการ Vendor Managed Inventory (VMI) ระหว่างคู่ค้าด้วยกัน
ERP
        ช่วยเชื่อมโยงและแบ่งปันข้อมูลจากทุกหน่วยงานได้ เช่น สร้างการซื้อขายและดำเนินธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ (Provide an electronic order form) เป็นต้น สำหรับการเข้ามาของ ERP อาจมีปัญหาเนื่องจากความจริงแล้วมีระบบสารสนเทศเดิมอยู่แล้ว ต้องมีการปรับตัวที่อาจสร้างกระแสต่อต้านได้ด้วยจึงมีหลายครั้งที่การนำ ERP มาใช้ไม่ประสบความสำเร็จ

ระบบ Supply Chain ที่ดี ช่วยให้
  • สามารถประมาณการความต้องการของลูกค้าได้ 
  • สามารถวางแผนการผลิตได้  
  • ทำให้การเก็บสินค้าคงคลังลดลง 
  • การขนส่งก็มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 
  • ลดความเสี่ยง ความไม่แน่นอน 
  • เพิ่มขีดความสามารถของบริษัท ซึ่งทำให้บริษัทมีกำไรมากขึ้น
ERP : Enterprise Resource Planning Systems
ปกติบริษัทจะซื้อเป็นส่วนๆ ของแต่ละฝ่าย ไม่ซื้อทั้งหมด เพราะว่าแพง และการนำเอา ERP เข้ามาใช้ในบริษัทมักไม่ประสบความสำเร็จ เพราะการนำเข้ามาใช้นั้นเป็นการทำงานผู้ใช้เดิมต้องทำงานในระบบใหม่ที่ต้อง เรียนรู้เพิ่ม และในระดับเริ่มแรกของการใช้ระบบ ก็จะต้องใช้คู่กับระบบเดิมที่มีอยู่ ทำให้พนักงานในองค์กรมีงานเพิ่มขึ้นจากเดิม จึงไม่ค่อยมีใครต้องการที่จะใช้ระบบใหม่ที่ดีกว่านี้ ตัวอย่างของ ERP เช่น SAP เป็นของบริษัทเยอรมันเป็นผู้ผลิต, Oracle, PeopleSoft เป็นต้น
                ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ในแผนก/ หน่วย งานที่สำคัญก่อน เช่น การเงิน การบัญชี การตลาด การขายสำหรับบันทึกข้อมูลลูกค้า การขนส่งและการออกใบกำกับเพื่อส่งสินค้าแก่ลูกค้า เป็นต้น

Third-Party Module
เป็นการปรับ Module ย่อยเข้ากับ ERP หลัก ขององค์กรที่มีอยู่ สามารถใช้งานเฉพาะเสริมขึ้นมาในราคาต้นทุนที่ประหยัดกว่า แต่อาจมีปัญหาจากการขาดความเชื่อมโยงเข้ากับระบบหลักได้ เช่น
  • CRM 
  • Customer Self-Service (CSS) 
  • Sales Force Automation (SFA) 
  • Supply Chain Management (SCM) สำหรับการบริหารห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นจนถึงลูกค้าท้ายสุด 
  • Product Lifecycle Management (PLM) เน้นเรื่องการบริหารสินค้าในทุกกระบวนการ ตั้งแต่การออกแบบจนถึงการขายสินค้าหรือการทำลาย สามารถเก็บข้อมูลเพื่อการพัฒนาสินค้าต่อไปได้ 
  • Supplier Relationship Management (SRM)
ERP Lease or Buy?
           ขึ้นอยู่กับบริษัทว่าต้องการใช้มากน้อยแค่ไหน และมีทรัพยากรมากพอหรือไม่ แต่ส่วนมากจะเช่า ซึ่งตอนนี้ก็มีการพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมา เช่น Cloud computing ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกระยะเวลาที่ต้องการได้ ไม่ต้องซื้อแล้วเอามาใช้แค่ช่วง peak 2 เดือนต่อปี ทำให้สามารถประหยัดงบประมาณไปได้เยอะ

Presentation
1.Augmented Reality
Augmented Reality (AR) เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่พัฒนารูปแบบ Human-Machine Interface ที่อาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และระบบเสมือนจริง (Virtual Reality) ในรูป 3D และแสดงผล แบบ real time โดย AR สามารถใช้งานผ่านทางอุปกรณ์ Webcam, กล้องมือถือ ,Computer รวมกับการใช้ software ต่างๆ ซึ่งจะทำให้ภาพที่เห็นในจอภาพจะเป็น object (คน,สัตว์,สิ่ง ของ,สัตว์ประหลาด,ยานอวกาศ) 3 มิติ ซึ่งมีมุมมองถึง 360 องศา สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับ GPRS,แมกกาซีน,สาธิตการใช้สินค้า (IKEA,Shiseido)


2.Mobile Operating Systems
          ระบบปฏิบัติการในมือถือ เป็นตัวที่บอกว่ามือถือเราใช้ Application อะไรได้บ้าง มีหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูล, แสดงผลบนหน้าจอ

ตัวอย่าง
1.Symbian OS
           ถูกพัฒนามาเป็น 10 ปีแล้ว และมีคนร่วมพัฒนาเยอะมาก มีมือถือหลายยี่ห้อที่ใช้ได้ และปัจจุบันเป็น open source

2.BlackBerry OS
           ตอนแรกส่วนมากใช้ในองค์กร ใช้ E-mail push ภายหลังจับกลุ่มเป็ยวัยรุ่น เน้นการ chat

3.iPhone OS
           พัฒนาโดย apple ใช้งานง่าย และดูหวือหวา มีระบบ Multi- touch มีจุดเด่นที่ความบันเทิง เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม แต่ไม่รองรับ flash และเป็นระบบปิด การ download file ต้องผ่าน itunes

4.Window Mobile OS
           พัฒนาโดย Microsoft หน้าตาคล้าย Window บนคอม มีจุดเด่นคือ มี Microsoft Office เป็นระบบปิด ทำให้การพัฒนาต่อยอดได้ยาก

5.Android
          พัฒนาโดย google ร่วมกับหลายคน เป็นน้องใหม่ที่พัฒนามาจาก Linux เป็น open source ทำให้มีคนเข้ามาช่วยพัฒนาระบบจำนวนมาก มีแนวคิดที่จะพยายามนำ google ต่างๆ เข้ามาร่วมกับมือถือ แต่ยังมีปัญหาทางเทคนิคอยู่มาก

3.Video Telepresence
เป็นระบบที่พัฒนามาจากระบบ Video Conference แต่เสมือนจริงมากกว่า ระบบเสียงและภาพคมชัดเท่าตัวคนจริงๆ ไม่delay มีความน่าเชื่อถือสูง

ข้อจำกัด
ด้านต้นทุน เพราะห้องที่สมบูรณื 1 ห้องจะใช้เงินประมาณ 3-4 ล้าน และมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงด้วย
ด้านสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะ ไม่โครโฟน จะต้องอยู่ในที่ที่ถูกต้อง
การนำไปใช้ในปัจจุบัน
1.ด้านการประกอบธุรกิจ มีผู้ให้บริการเช่าห้องประชุมทางไกล และมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว
2.ด้านการศึกษา เพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงการศึกษา
3.ด้านการแพทย์ ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างแพทย์เมืองใหญ่และเมืองเล็ก
           ในไทยจะพบในบริษัทข้ามชาติ เช่น P&G แต่สัญชาติไทยคือ ปตท.

4.SOA
Service-oriented Architecture 
                หมายถึง แนวคิดการออกแบบและวางโครงสร้างของซอฟต์แวร์ขององค์กรขนาดใหญ่ในลักษณะที่เอื้อให้ผู้ใช้สามารถหยิบเอาเฉพาะเซอร์วิส (Service) ที่ ต้องการซึ่งเป็นองค์ประกอบของซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ มารวมกันเป็นแอพพลิเคชันใหม่ที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะอย่างได้อย่าง ยืดหยุ่น รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ตามหลักการของการนำกลับมาใช้ใหม่ (Reusability)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น